บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
          สบู่เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย กระบวนการผลิตสบู่มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆเพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตามต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น สีสันที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยา ในการค้ามีการใช้สารสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์น่าใช้ บรรจุภัณฑ์สวยงามแต่แฝงไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายมีสารตกค้างและราคาสูงปัจจุบันมีสบู่มากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมและความชอบของแต่ละบุคคล แต่จะมีใครทราบหรือไม่ว่าสบู่ที่ใช้ล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมที่เป็นสารซักฟอกและสารเคมีที่หลงเหลือในอุตสาหกรรมจากการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเลียมสารเคมี รวมถึงวัตถุกันเสีย ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสัตว์และคนที่มากกว่านั้นคือผิวสามารถดูดซึมของเสียเหล่านี้ได้ถึง 60%
          คณะผู้จัดทำจึงได้แนวคิดในการนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พืชสมุนไพรที่ใช้มีสารสำคัญและมีสรรพคุณทางยา เช่น มะขามที่มีกรดทางธรรมชาติช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายออกจากร่างกาย และมีน้ำหอมที่มีกลิ่นเฉพาะใช้เพิ่มความหอม ที่มีสีสันสวยงาม หาง่ายราคาถูก ประหยัดปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์ และไม่มีสารตกค้าง ทำให้สบู่มะขามที่ผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติมีสรรพคุณเฉพาะที่หลากหลาย จึงเป็นบทพิสูจน์เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสบู่มะขามที่มีคุณค่ายิ่งของภูมิปัญญาไทย
          จากการศึกษาสรรพคุณของมะขามเปียกพบว่า เป็นสมุนไพรคู่ครัวเรือนที่มีสรรพคุณเป็นกรดมี AHA ในปริมาณที่สามารถขัดผิว ทั้งผิวหน้า และผิวตัว รวมกระทั้งจุดแห้งกร้านให้มีความเนียนนุ่ม ขจัดกลิ่นตัวและไม่มีผลข้างเคียงใดๆต่อผิว ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะนำมาทำโครงงานการศึกษาอัตราส่วนของสบู่มะขาม
วัตถุประสงค์
          เพื่อศึกษาอัตราส่วนของมะขามเปียกและกลีเซอรีนในการทำสบู่       
ขอบเขตของโครงงาน
          ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึง วันที่ 10 มกราคม 2560
สมมุติฐาน
          เมื่อเพิ่มปริมาณของน้ำมะขามเปียกในการทำสบู่สมุนไพรมะขามเปียกทำให้ผู้ใช้มีผิวที่เนียนนุ่มไม่มีกลิ่นตัวและไม่เกิดการแพ้ ทำให้ผิวสะอาดขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       เพื่อให้ผู้ที่ใช้สบู่มีผิวที่เนียนนุ่ม ไม่มีกลิ่นตัว และไม่เกิดการแพ้
2.       เพื่อจำหน่ายและส่งเสริมการผลิตสบู่สมุนไพรมะขาม
ตัวแปร
          ตัวแปรต้น        ปริมาณของน้ำมะขามเปียกที่ใช้ทำสบู่
          ตัวแปรตาม       ความเนียนนุ่ม ไม่มีกลิ่นตัว และไม่เกิดการแพ้

ตัวแปรควบคุม   ปริมาณกลีเซอรีนที่ใช้ในการทำสบู่มะขาม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง